วันเสาร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ความหมายของสถิติ

ความหมายของสถิติ
ข้อมูลสถิติหรือข้อมูล   หมายถึง  ข้อเท็จจริงของเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เราสนใจจะศึกษา   ซึ่งอาจจะเป็นตัวเลขหรือข้อความก็ได้
- จำนวนคนที่เป็นโรคหัวใจในแต่ละเดือน
- ปริมาณการส่งออกข้าวของประเทศไทยในปีนี้เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว

     การจำแนกข้อมูล
1.ข้อมูลที่จำแนกตามลักษณะของข้อมูล
  แบ่งเป็น  2   ประเภท
1.1   ข้อมูลเชิงปริมาณ   คือข้อมูลที่ใช้แทนขนาดหรือปริมาณวัดออกมาเป็นค่าตัวเลขที่สามารถนำมาใช้เปรียบเทียบขนาดได้โดยตรง
1.2   ข้อมูลเชิงคุณภาพ   คือข้อมูลที่ไม่สามารถวัดออกมาเป็นค่าตัวเลขโดยตรงได้   แต่วัดออกมาในเชิงคุณภาพได้  เช่น  เพศของสมาชิกในครอบครัว   ซึ่งการวิเคราะห์ข้อมูลประเภทนี้   ส่วนใหญ่ทำโดยการนับจำนวนจำแนกตามลักษณะเชิงคุณภาพ2.   ข้อมูลจำแนกตามวิธีการเก็บรวบรวม

2.1
  ข้อมูลปฐมภูมิ   คือ   ข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมจากผู้ที่ให้ข้อมูลหรือแหล่งที่มาโดยตรง
2.1.1   การสำมะโน  คือ   การเก็บรวบรวมข้อมูลจากทุกหน่วยของประชากรที่ต้องการศึกษา
2.1.2   การสำรวจจากกลุ่มตัวอย่าง  คือ   การเก็บรวบรวมข้อมูลที่ประกอบด้วยตัวแทนจากทุกลักษณะของประชากรที่ต้องการศึกษา
    ในทางปฏิบัติ   ไม่ว่าจะทำการสำมะโนหรือการสำรวจ  นิยมปฏิบัติอยู่  5   วิธี  คือ
   1.   การสัมภาษณ์  นิยมใช้กันมาก  เพราะจะได้คำตอบทันที   นอกจากนี้หากผู้ตอบไม่เข้าใจก็สามารถอธิบายเพิ่มเติมได้   แต่ผู้สัมภาษณ์ต้องซื่อสัตย์   และเข้าใจจุดมุ่งหมายของการเก็บข้อมูลอย่างแท้จริง
   2.   การแจกแบบสอบถาม   วิธีนี้ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายมาก  สะดวกและสบายใจต่อการตอบแบบสอบถาม   แต่ก็มีข้อเสียหลายประการ  เช่น  ต้องใช้ในเฉพาะผที่มีการศึกษา  มีไปรษณีย์ไปถึง   คำถามต้องชัดเจน  อาจจะไม่ได้รับคืนตามเวลาหรือจำนวนที่ต้องการ   จึงต้องส่งแบบสอบถามออกไปเป็นจำนวนมากๆ   หรือไปแจกและเก็บด้วยตนเอง
   3. การสอบถามทางโทรศัพท์  เป็นวิธีที่ง่าย   เสียค่าใช้จ่ายน้อย  ต้องเป็นการสัมภาษณ์อย่างสั้นๆ   ตอบได้ทันทีโดยไม่ต้องเสียเวลาค้นหาหลักฐาน   ใช้ได้เฉพาะส่วนที่มีโทรศัพท์เท่านั้น
   4.   การสังเกต   เป็นข้อมูลที่ได้จากการสังเกตแล้วบันทึกสิ่งที่เราสนใจเอาไว้   ต้องใช้การสังเกตเป็นช่วงๆของเวลาอย่างต่อเนื่องกัน   ข้อมูลจะน่าเชื่อถือได้มากน้อยขึ้นอยู่กับความเข้าใจและความชำนาญของผู้สังเกต   เช่น  ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้บริการต่างๆ  เช่น  บริการรถโดยสาร  การบริการสหกรณ์   ความหนาแน่นของการใช้ถนนสายต่างๆ  เป็นต้น   วิธีนี้นิยมใช้ประกอบกับการเก็บข้อมูลวิธีอื่นๆ
   5.   การทดลอง   เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลที่มีการทดลอง  ซึ่งมักจะใช้เวลาในการทดลองนานๆ   ทำซ้ำๆ
2.2   ข้อมูลทุติยภูมิ   คือ   ข้อมูลที่ต้องเก็บรวบรวมจากผู้ที่ให้ข้อมูล  หรคือแหล่งที่มาโดยตรง   แต่ได้จากข้อมูลที่มีผู้อื่นเก็บรวบรวมไว้แล้ว3.   วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิ

  
แหล่งที่มาของข้อมูลทุติยภูมิที่สำคัญมีอยู่  2   แหล่ง  คือ
1.   รายงานต่างๆของหน่วยราชการและองค์การของรัฐบาล เช่น   ทะเบียนประวัติบุคลากร  ประวัติคนไข้  ทะเบียนนักเรียนนักศึกษา  เป็นต้น
2.   รายงานและบทความจากหนังสือ  หรือรายงานจากหน่วยงานเอกชน   ซึ่งจะมีการพิมพ์เผยแพร่เฉพาะในส่วนของข้อมูลที่เผยแพร่ได้ในรูปของรายงานต่างๆ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น