วันอังคารที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ความหมายของฟังก์ชัน

                                                                              ความหมายของฟังก์ชัน
      ฟังก์ชัน คือ ความสัมพันธ์ซึ่งในสองคู่อันดับใดๆ ของความสัมพันธ์นั้น ถ้าสมาชิกตัวหน้าเหมือนกันแล้ว สมาชิกตัวหลังต้องไม่ต่างกัน
      นั่นคือ
      ถ้า (x1,y1) r และ (x1,y2) r แล้ว y1= y2
      หลักในการพิจารณาว่าความสัมพันธ์เป็นฟังก์ชันหรือไม่
      1. ถ้าความสัมพันธ์นั้นอยู่ในรูปแจกแจงสมาชิก ให้ดูว่าสมาชิกตัวหน้าของคู่อันดับซ้ำกันหรือไม่ ถ้าสมาชิกตัวหน้าของคู่อันดับซ้ำกัน แสดงว่าความสัมพันธ์นั้นไม่เป็นฟังก์ชัน
      2. ถ้าความสัมพันธ์นั้นอยู่ในรูปของการกำหนดเงื่อนไขสมาชิก
          r = {(x,y)
A× B | P(x,y) } ให้แทนค่าแต่ละสมาชิกของ x ลงในเงื่อนไข P(x,y) เพื่อหาค่า y ถ้ามี x ตัวใดที่ให้ค่า y มากกว่า 1 ค่า แสดงว่าความสัมพันธ์นั้นไม่เป็นฟังก์ชัน
      3. พิจารณาจากกราฟของความสัมพันธ์ โดยการลากเส้นตรงขนานกับแกน y ถ้าเส้นตรงดังกล่าวตัดกราฟของความสัมพันธ์มากกว่า 1 จุด แสดงว่าความสัมพันธ์นั้นไม่เป็นฟังก์ชัน



                                                                               ฟังก์ชันจาก A ไป  B
ฟังก์ชันจาก A ไป B
         f เป็นฟังก์ชันจาก A ไป B ก็ต่อเมื่อ f เป็นฟังก์ชันที่มีโดเมนคือเซต A และเรนจ์เป็นสับเซตของเซต B เขียนแทนด้วย f : A B
ฟังก์ชันจาก A ไปทั่วถึง B
         f เป็นฟังก์ชันจาก A ไปทั่วถึง B ก็ต่อเมื่อ f เป็นฟังก์ชันที่มีโดเมนเป็นเซต A และเรนจ์เป็นของเซต B เขียนแทนด้วย f : A B
ฟังก์ชันหนึ่งต่อหนึ่งจาก A ไป B
         f เป็นฟังก์ชันหนึ่งต่อหนึ่งจาก A ไป B ก็ต่อเมื่อ f เป็นฟังก์ชันจาก A ไป B ซึ่งถ้า y R f
แล้วมี x
Df เพียงตัวเดียวเท่านั้นที่ทำให้ (x,y) f เขียนแทนด้วย f : B
         หรืออาจกล่าวอย่างง่ายๆได้ว่า f เป็นฟังก์ชันหนึ่งต่อหนึ่ง ก็ต่อเมื่อสำหรับ x1และ x2 ในโดเมน ถ้า
f( x1) = f( x2) แล้ว x1 = x2
ฟังก์ชันเพิ่ม ฟังก์ชันลด

ให้ f เป็นฟังก์ชันจากสับเซตของ R× R และ A Df

 f เป็นฟังก์ชันเพิ่มใน A ก็ต่อเมื่อ สำหรับสมาชิก x1 และ x2 ใดๆ ใน A

ถ้า x1 < x2 แล้ว f( x1) < f( x2)

 f เป็นฟังก์ชันลดใน A ก็ต่อเมื่อ สำหรับสมาชิก x1 และ x2 ใดๆ ใน A

ถ้า x1 < x2 แล้ว f( x1) > f( x2)



                                                                                  ฟังก์ชันที่ควรรู้จัก
ฟังก์ชันเชิงเส้น (linear function)


กราฟของฟังก์ชันเชิงเส้นจะมีลักษณะเป็นเส้นตรง
a < 0
a = 0






a > 0






ฟังก์ชันขั้นบันได (step function)
กราฟของฟังก์ชันนี้จะมีรูปร่างคล้ายขั้นบันได


ฟังก์ชันกำลังสอง (quadratic function)

กราฟของฟังก์ชันกำลังสองจะมีลักษณะเป็นรูปพาราโบลา

ฟังก์ชันพหุนาม (polynomial function)

ฟังก์ชันตรรกยะ (rational function)

ฟังก์ชันที่เป็นคาบ (periodic function)
            f เป็นฟังก์ชันที่เป็นคาบ ก็ต่อเมื่อ มีำจำนวนจริง p ที่ทำให้ f(x+p) = f(x) สำหรับ ทุกค่าของ x และ x+p ที่อยู่ในโดเมนของ f



 ฟังก์ชันอินเวอร์ส
 เนื่องจากฟังก์ชัน คือ รูปแบบหนึ่งของความสัมพันธ์ ดังนั้น การหาอินเวอร์สของฟังก์ชันจึงหาได้ เช่นเดียวกับการหาอินเวอร์สของความสัมพันธ์ เพียงแต่อินเวอร์สของฟังก์ชันไม่จำเป็นต้องเป็นฟังก์ชันเสมอไป

ตัวอย่างเช่น
กำหนด
f = {(1,2) ,(2,3) ,(3,4)}


f-1 = {(2,1) ,(3,2) ,(4,3)} เป็นฟังก์ชัน


กำหนด
g= {(1,2) ,(2,3) ,(4,2)}


g-1 = {(2,1) ,(3,2) ,(2,4)} ไม่ เป็นฟังก์ชัน
      เรียกอินเวอร์สของฟังก์ชันที่เป็นฟังก์ชันว่า "ฟังก์ชันอินเวอร์ส" จากตัวอย่างข้างต้นจะเห็นว่า ฟังก์ชันที่จะมีฟังก์ชันอินเวอร์สได้ จะต้องเป็นฟังก์ชันหนึ่งต่อหนึ่ง

สมบัติของฟังก์ชันอินเวอร์ส


กำหนดให้ f เป็นฟังก์ชัน

1. f - 1 เป็นฟังก์ชัน เมื่อ f เป็นฟังก์ชัน 1-1

2. Df = R f - 1 และ Rf = Df - 1


                                                                       ฟังก์ชันคอมโพสิท  (Composite  Function)

            ให้ f และ g เป็นฟังก์ชัน และ R f Dg Ø ฟังก์ชันคอมโพสิทของ f และ g เขียนแทนด้วย gof กำหนดโดย (gof)(x) = g(f(x)) สำหรับทุก x ซึ่ง f(x) Dg







ตัวอย่างที่1 ให้ f: A B และ g : B C ดังแสดงในแผนภาพ





f = {(1,5), (2,4), (3,6)} และ


g = {(4,7), (5,7), (6,8)}

(gof)(1)
= g(f(1))
= g(5)
= 7


(gof)(2)
= g(f(2))
= g(4)
= 7


(gof)(3)
= g(f(3))
= g(6)
= 8


 gof
= {(1,7), (2,7), (3,8)} และ Dgof = A
ข้อสังเกต
     จากตัวอย่างที่ 1 จะเห็นว่าไม่มี fog เพราะ R f Dg



                                           พีชคณิตของฟังก์ชัน  (Agebra of Function)
กำหนดให้ f และ g เป็นฟังก์ชันในเซตของจำนวนจริง
f + g
= { (x, y) | y = f(x) + g(x) และ x D f Dg }
f - g
= { (x, y) | y = f(x) - g(x) และ x D f Dg }
f · g
= { (x, y) | y = f(x) · g(x) และ x D f Dg }
= { (x, y) | y =
และ x D f Dg และ g(x) 0 }



จากบทนิยามจะได้
f + g (x)
= f(x) + g(x) ซึ่ง x D f Dg

f - g (x)
= f(x) - g(x) ซึ่ง x D f Dg

f · g (x)
= f(x) · g(x) ซึ่ง x D f Dg

(x)
=
ซึ่ง x D f Dg และ g(x) 0



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น